รากฟันเทียมเหมาะกับใครและดูแลรักษาอย่างไร

สมัยก่อนหากฟันแท้มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นฟันผุหรือฟันแท้หลุดจากการประสบอุบัติเหตุ เราอาจต้องสูญเสียฟันแท้ไปตลอดกาล และอาจจะต้องใส่ฟันปลอมแทนเพื่อใช้ในการเคี้ยวอาหารแต่ก็จะไม่เหมือนเดิมอย่างแน่นอน แต่ในยุคปัจจุบันนวัตกรรมได้พัฒนาอย่างมาก ทำให้เรามีรากฟันเทียม ที่จะช่วยให้เรามีฟันที่ใช้การได้ใกล้เคียงกับฟันแท้มากที่สุด อีกทั้งยังสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเท่าฟันปลอม

ใครควรใส่รากฟันเทียม
        รากฟันเทียมสามารถทำได้ในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันที่อยู่บริเวณด้านหน้า หรือฟันที่ไม่สามารถใช้ฟันซี่อื่นๆบริเวณข้างๆได้ แต่คนไข้ควรมีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กที่อายุยังไม่ถึง18 ปี กระดูกขากรรไกรยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ นอกจากนี้ อาจมีบางรายที่แพทย์ต้องเป็นคนพิจารณา เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่รากฟันจะหลวมและต้องถูกถอดออก ดังนั้นก่อนใส่รากเทียม ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจสุขภาพในช่องปากและฟัน โดยละเอียดและหาวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาฟันให้คนไข้
คนที่ไม่แนะนำให้รักษา

การดูแลรักษารากฟันเทียม
      ใครที่จำเป็นต้องใส่รากฟันเทียม ควรเลือกทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดเปลี่ยนรากฟันเทียมโดยเฉพาะ การเลือกใช้รากฟันเทียมคุณภาพสูง และการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการบดเคี้ยวด้วยการเคี่ยวอะไรแข็งๆ เพื่อช่วยรักษารากฟันเทียมให้ยืนยาว

อาการหลังรักษารากฟัน
•    คนไข้อาจะมีอาการปปวดบวมหลังจากผ่าตัด ประมาณ 5-7 วัน ไม่ต้องกังวลนะคะ เพียงแค่รับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยทำให้แผลหายได้ป็นปกติ
•    กรณีที่มีอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณคาง ริมฝีปาก หรือลิ้น ปวดบวมรุนแรงหรือมีเลือดออกบ่อย ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการทันที

การรักษารากฟันอยู่ได้นานเท่าไร
      โดยปกติแล้วการรักษารากฟันจะอยู่ได้ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรากฟัน และหากผู้ป่วยดูแลสุขภาพช่องปากเป็นอย่างดีและไปพบแพทย์ตามกำหนด ก็จะทำให้รากฟันมีประสิทธิภาพอย่างยาวนาน
    
หากคุณกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมในการรักษาราฟันเทียม เราขอแนะนำ PMDC คลินิกทันตกรรมที่มีทันตแพทย์พร้อมให้คำแนะนำกับปัญหาเรื่องสุขภาพฟัน ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี สามารถสอบถามรายละเอียดการทำรากฟันเทียมได้ที่ >>> https://www.pmdc-dental.com/th/ทันตกรรมตกแต่ง/รากฟันเทียม