ถังบำบัดน้ำเสียมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง

บทความนี้จะมาพูดถึง ถังบำบัดน้ำเสีย ที่ทุกๆ บ้านที่อยู่อาศัยมีกัน ว่ามีหลักการทำงานอย่างไรที่ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดีได้ก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างแน่นอน ถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการอนุรักษ์โลกให้น่าอยู่มากขึ้น ซึ่งหลักในการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียโดยเบื้องต้นนั้น สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ดังนี้

1.ใช้ออกซิเจนเพื่อเลี้ยงแบคทีเรียในน้ำเสีย
ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปแบบเติมอากาศจะมีการใช้เครื่องเติมอากาศ(Areator) เพื่อไปเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณที่เพียงพอ ทำให้จุลินทรีย์สามารถนำไปใช้เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายพวกสารอินทรีย์ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการทำปฏิกิริยาทางชีวเคมี โดยสามารถเปลี่ยนน้ำปฏิกูล น้ำเสีย หรือน้ำที่มีมูลฝอยต่างๆ ให้กลายเป็นน้ำดี ซึ่งน้ำดีที่ได้นั้นก็จะสามารถนำไปใช้งานในภายหลังได้อีกครั้ง

2.มีระบบแยกกากและสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำเสีย
ในน้ำเสีย มักจะมีตะกอน สิ่งแปลกปลอม ปะปนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ถังบำบัดน้ำเสียนั้น มีระบบการทำงานในการแยกกากตะกอน หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำ ก่อนจะทำการย่อยสลายบางส่วน ตั้งแต่น้ำเสียไหลเข้ามาเป็นครั้งแรก ซึ่งน้ำดีก็จะถูกพักเก็บไว้อีกทาง ส่วนกากตะกอนและสิ่งแปลกปลอมก็จะถูกแยกออกมาจากน้ำเสีย

3.ระบบการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดนี้กลับมาใช้ใหม่ได้
ในโรงงานอุตสาหกรรมบางที่จะมีถังบำบัดน้ำเสียที่มีระบบรีไซเคิลน้ำที่ได้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนในเรื่องของน้ำดิบ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้มาก ซึ่งระบบการบำบัดน้ำเสียแบบนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในโรงงานประเภทที่ต้องทำงานเกี่ยวกับน้ำเป็นหลัก เพราะนอกจากจะคุ้มค่าในการติดตั้งแล้ว ยังเป็นวิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติไปในเวลาเดียวกัน

ทั้งหมดที่กล่าวมา 3 ข้อ คือหลักการทำงานของถังบำบัดน้ำเสีย ที่กำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคราบตะกอน มูลฝอย ให้สามารถปล่อยน้ำคุณภาพดีกลับสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง เป็นการช่วยโลกทางอ้อมได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ขอแนะนำถังบำบัดน้ำเสีย DOS Life ที่เป็นมิตรต่อครัวเรือนหรือแม้แต่โรงงานขนาดใหญ่มีระบบการบำบัดน้ำที่ทันสมัย ทนทาน และ อายุการใช้งานยาวนาน