ถ้าพูดถึงอาการสมาธิสั้น หลายคนคงนึกถึงเด็กสมาธิสั้นที่อยู่นิ่งๆเฉยๆไม่ได้ มีอารมณ์รุนแรง สอนอะไรไปก็ไม่สนใจ ไม่ฟังที่พ่อแม่หรือคุณครูพูด ซึ่งโรคสมาธิสั้นนี้ผู้ใหญ่ก็เป็นได้ ไม่เพียงแค่เด็กเท่านั้น เรามาหาคำตอบกันครับว่าอาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่เป็นอย่างไร
สมาธิสั้น ไม่เพียงพบในเด็กเท่านั้น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ก็พบเจอได้เช่นกัน ซึ่งโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่จะไม่เหมือนกับเด็ก แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การวางแผน หงุดหงินง่าย ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่เสร็จ เพราะมีความผิดปกติบริเวณสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนความคิด การบริหารจัดการ และการวางแผนต่าง ๆ
อาการสมาธิสั้นที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ คือ เวลาฟังอะไรจะจับใจความไม่ค่อยได้ วอกแวกได้ง่าย ทำงานไม่ค่อยเสร็จทันที่กำหนดส่ง ขาดความเป็นผู้นำ ความสามารถในการจัดการ แก้ปัญหาไม่ค่อยได้ ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีเรื่องกับคนรอบข้างบ่อย บางคนเข้าข่ายโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ดูแล้วมีอาการคล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นแต่ก็ไม่ทั้งหมด
ดังนั้น หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีพฤติกรรมและความคิดที่บ่งบอกถึงอาการสมาธิสั้น ควรรีบพบจิตแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมิน จะได้รักษาโรคสมาธิสั้นได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ซึ่งการรักษาอาการสมาธิสั้นนั้น จะรักษาเหมือนกับเด็กสมาธิสั้นเลย ด้วยการรักษาด้วยยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยการกินยาของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นนั้นควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์ โดยการกินยาจะช่วยทำให้อาการสมาธิดีขึ้น ซึ่งต้องทำควบคู่กับการปรับพฤติกรรมถึงจะเห็นผลได้ดีขึ้น
ไม่ใช่แค่เด็กสมาธิสั้นเท่านั้นที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้ ทางที่ดีลองเข้ามาปรึกษาที่สถาบัน BrainFit Studio ดู เผื่อคุณจะได้รับคำปรึกษาที่ดีเกี่ยวกับอาการสมาธิสั้น