ยุทธศาสตร์การขนส่งของประเทศไทย

โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์พร้อมยุทธศาสตร์การขนส่งของประเทศไทย ในสภาวะการณ์ของโลกปัจจุบันยุทธศาสตร์การขนส่งของประเทศไทย จึงต้องมีเป้าหมายกำหนดให้การขนส่งทางน้ำและทางราง เป็นเส้นทางขนส่งหลักในการขนส่งระยะยาว การขนส่งทางถนนเป็นส่วนขนส่งต่อเชื่อมจากต้นทางสู่เส้นทางหลักกับนำส่งจากเส้นทางหลักสู่ปลายทาง ด้านการขนส่งทางอากาศ เป็นส่วนสนับสนุนสำหรับสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วเป็นสำคัญ สิ่งที่ต้องดำเนินการในขณะนี้คือเร่งพัฒนาการขนส่งทางน้ำ เพื่อเป็นทางเลือกของการขนส่งต้นทุนต่ำ โดยพัฒนาท่าเรือและสร้างระบบเชื่อมโยงการขนส่งสู่ท่าเรือทั้งการขนส่งทางทะเลชายฝั่ง และการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งเรื่องการเป็นฮับทางด้านเรือไทยนั้นไทยอาจจะเป็นรองสิงคโปร์ แต่ถ้าการพัฒนาการต่อเชื่อมไทยไม่เป็นรอง เป็นศูนย์กลางการขนส่งของอินโดจีน ประเทศไทยเป็นศูนย์ทางด้านอากาศ มีสนามบินในศูนย์กลางโดยภูมิศาสตร์ การบริหารจัดการอีกจุดหนึ่งน่าจะเป็น การเป็นฮับในภาคอินโดจีน ทั้งการเชื่อมโยงกับจีนตอนใต้ โดยจีนหาทางออกทะเล ทางพม่า ทางไทย และเวียดนาม การขนส่งในแม่น้ำโขง การขนส่งทางด้านน้ำมัน การขนส่งโดยคอนเทนเนอร์ โดยพัฒนาท่าเรือเชียงแสน ระยะที่ 2 และการพัฒนาระบบขนส่งสู่ท่าเรือเชียงแสน ทั้งการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโครงข่ายทางรถไฟจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกสู่ท่าเรือแหลมฉบังให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งพัฒนาและขยายขีดความสามารถของ ไอซีดี ลาดกระบัง โครงการปรับปรุงสถานีขนส่งสินค้าชานเมือง (Truck Terminal) ส่วนการขนส่งทางรางได้มีแผนพัฒนารถไฟรางคู่จากฉะเชิงเทราสู่แหลมฉบัง และมีการสร้าง ไอซีดี 2 โดย รฟท. มีแผนที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย ผ่านคลอง 19 และเข้าสู่แหลมฉบังโดยทำเป็นรางคู่ ส่งสินค้าจากภาคตะวันออก สู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีแผนเสริมเรื่องการสร้างคอนเทนเนอร์ยาร์ท (CY) ที่จะเสริมในเรื่องการกระจายและจุดขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ยงมีรถไฟขบวนพิเศษในการบรรทุกสินค้าพิเศษ จะขนส่งสินค้ามีการรับรองเวลา สุวรรณภูมิมีศักยภาพพร้อมเป็น HUB เมื่อพูดถึงสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว เป็นสนามบินที่ได้มาตรฐานมาก มี runway ทั้งหมด 4 เส้น ในตอนท้ายที่สุดจะมีการก่อสร้างเสร็จในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่ในเบื้องต้นจะมี runway 2 เส้น ทางทิศตะวันออก และตะวันตก สามารถรองรับเครื่องบินขึ้น-ลงได้ในระดับ 84 เที่ยวบินต่อชั่วโมง จะรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 45 ล้านคนต่อปีในเบื้องต้น ขณะที่ทางดอนเมืองสามารถรองรับเครื่องบินขึ้น-ลงได้เพียง 20 กว่าเที่ยวบินต่อชั่วโมงหรือประมาณ 600 กว่าเที่ยวบิน จะเห็นได้ว่าสนามบินแห่งใหม่จะมีศักยภาพในการรองรับเที่ยวบินได้สูง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยชี้ที่จะเป็นศูนย์กลางทางด้านการบิน หรือ HUBในภูมิภาค คงต้องดูปริมาณของสายการบินที่จะมาใช้บริการแล้ว ในด้านภูมิศาสตร์ (Location) ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะว่าสายการบินที่จะเข้ามาลงต้องคำนึงถึงเรื่องความประหยัดต้นทุนและเรื่องเวลา ในส่วนของการเจริญเติบโตทางอากาศของเรา ในศักยภาพของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเป็น HUB การขนส่งทางอากาศ ปัจจุบันเรามีการขนส่งสินค้าเข้า-ออก โดยอัตราโตเฉลี่ยปีละประมาณ 6.3% โดยเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เรามีสินค้าเฉลี่ยที่มาใช้ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของเรา 60,000 ตันต่อปี ปัจจุบันนี้ในปี 2548 เรามีการรับอัตราของสินค้าประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี ส่วนนี้ต้องการให้เห็นว่าโดย Location ปริมาณผู้โดยสาร และสินค้า เราเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งในเอเชีย สุวรรณภูมิรองรับการพัฒนาได้อีก 20 ปี นอกจากนี้ ในพื้นที่ 20,000 ไร่ จะมีการพัฒนาสนามบินแห่งนี้ไปอีก 20 ปีข้างหน้า แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้รองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนเป็น 54 ล้านคน และอีก 5 ปีถัดไปคืออีก 10 ปีข้างหน้าก็จะต้องรองรับผู้โดยสารให้ได้ถึง 73 ล้านคน และอีก 15 ปีจากนี้ไปจะรองรับผู้โดยสาร 95 ล้านคน และอีก 20 ปีข้างหน้าจะรองรับผู้โดยสารเป็น 120 ล้านคน ดังนั้นเรื่องของ Infrastructure ต่างๆ ซึ่งทางราชการได้มีการกำหนดโซนต่างๆ ของสนามบินว่า โซนไหนเป็นเชิงพาณิชย์ โซนไหนเป็นเขตที่พักอาศัย โซนไหนเป็นเขตเกษตรกรรม โซนไหนเป็นเขตอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากโซนต่างๆ จะเป็นตัวกำหนด Infrastructure หรือ utility ต่างๆ ที่ต้อง provide ให้กับอุตสาหกรรมที่อยู่รายรอบสนามบิน จะทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่าย ทำให้สินค้าของเราสามารถแข่งกับต่างชาติ ปัจจัยเกื้อหนุนการเป็น Hub นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย กล่าวในการสัมมนา "เส้นทาง Logistics ไทย ทะยานสู่ Hub of Asia" หัวข้อ "ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จ Logistics ไทย ทะยานสู่ Hub of Asia" ว่า ประเด็นที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาคือ ปัจจัยเกื้อหนุนการเป็น Hub ควรตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางการขนส่ง และมีโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆ ของภูมิภาค มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง มีปริมาณการค้าของประเทศมีมากเพียงพอ มีการค้าแบบ Paper Trade ผู้ให้บริการโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งของโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องใน gateway รวมถึงกฎระเบียบที่เอื้ออำนวย แนวโน้มโลจิสติกส์ในอนาคต ต้องมาดูในประเด็นเรื่องของความมั่นคงและการป้องกันการก่อนการร้ายที่เพิ่มความรัดกุมมากยิ่งขึ้น รวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เริ่มมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเชื่อมโยงข้อมูลทางการค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ จึงต้องการรูปแบบของฐานข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องดูแนวโน้มของการใช้บริการ Third Party Logistics ขยายตัวไปทั่วทุกภูมิภาคของ Asia ซึ่งจะมีความสำคัญมากขึ้นในภูมิภาคในประเทศต่างๆ เพื่อที่จะลดต้นทุนของ Logistics cost เพราะฉะนั้น สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ต้องมีไว้เพี่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แนวทางการพัฒนาเพื่อการเป็น Hub แนวทางการพัฒนาเพื่อให้เป็น Hub ประกอบไปด้วยข้อได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์และโอกาส ซึ่งไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่สำคัญของโลก มีศักยภาพในการเป็นประตูการค้าของภูมิภาคอินโดจีน รวมทั้งมีความเหมาะสมของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่จะสามารถพัฒนาเป็นจุดปลายทาง และเชื่อมต่อการขนส่งจากชายฝั่งทะเลไปยังแผ่นดินใหญ่ของทวีปได้ โดยตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางการขนส่ง และมีโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆ ของภูมิภาคได้ สำหรับสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาระบบการกระจายสินค้าของประเทศ และการเชื่อมต่อรูปแบบการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างระบบราง ถนน และเส้นทางการบิน จาก Gateway หลัก เชื่อมโยงไปยังประเทศในแถบอินโดจีน และจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าและสถานีขนถ่ายสินค้าระหว่างรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูล เพื่อการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคี การเจรจาเพิ่มสิทธิการบินการขนส่งระหว่างประเทศแบบทวิภาคี การพัฒนากฎหมายการขนส่งข้ามแดน สนับสนุนการค้าแบบ Paper Trade และเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ เป็นต้น โลจิสติกส์มหาภาคการขนส่งของไทย นายเสถียร วงศ์วิเชียร ประธานมูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า สำหรับโลจิสติกส์มหาภาคของการขนส่งของไทย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. การเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าสนับสนุนการขนส่งภายในประเทศ เพื่อเป็นการกระจายสินค้าภายในประเทศ มีรถวิ่งไปตามเส้นทางหลักของแต่ละศูนย์ เมื่อไปถึงศูนย์ก็จะมีการขนส่งสินค้าต่อด้วยรถขนาดเล็ก โดยในแต่ละจุดเชื่อมต่อจะต้องเสียเวลาค่อนข้างมาก และค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน 2. การเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในอนุภูมิภาค รวมถึงจีนตอนใต้ เวียดนาม และพม่า โดยจะเป็นการขนส่งที่มีการเชื่อมต่ออยู่แล้วทั้งทางบกหรือทางขนส่งอื่นๆ เช่น ถ้ามีการทำศูนย์รวมหรือกระจายสินค้าที่ อ.แม่สาย ซึ่งเป็นสินค้าที่มาจากทางจีนตอนใต้ก็มารวมที่นี่ อาจใช้รถขนส่ง ซึ่งอาจส่งต่อไปยังแหลมฉบัง หรือถ้าต้องการไปทางเขมรตอนใต้ ก็ไปรวมศูนย์กระจายสินค้าทางใต้ เป็นต้น และ 3. แนวทางการวางระบบสำหรับการเปิดเสรีการขนส่งด้วยรถบรรทุก การขนส่งในภูมิภาคของไทยตอนนี้มีเพียงการขนส่งข้ามแดนไปมาเลเซีย และสิงคโปร์ เช่น การส่งสินค้าประเภท พืช ผัก ปลา หมู และเนื้อวัว ข้ามไปสิงคโปร์ต้องวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด คือ ไปทางด้าน North - South ของมาเลเซีย ทั้งหมดนี้คือปัจจัยเกื้อหนุนที่จะเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศไทย

เป็นเส้นทาง Logistics ไทยที่จะกรุยทางไปสู่ความเป็น HUB of Asia การพัฒนาประเทศไทย ด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เมื่อกล่าวถึงคำว่า โลจิสติกส์ (Logistics) หลายท่านคงอาจเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคยรู้จัดเลยว่า โลจิสติกส์นี้คืออะไร มีขั้นตอนกระบวนการทำงานเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร และมีผลกระทบกับใครบ้างรวมทั้งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดคงต้องมาติดตามอ่านคอลัมน์จับถูกจุดในฉบับนี้ คำว่า โลจิสติกส์ (Logistics) ถ้าแปลให้ตรงตัวตามพจนานุกรมแล้ว แปลว่าการส่งกำลังบำรุงในทางทหาร ซึ่งก็คือ การขนส่งยุทโธปกรณ์จากแนวหลังไปสู่แนวหน้าให้ถูกสถานที่ทันเวลา เป็นการดำเนินการสุดท้ายของการขนส่ง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เราจึงได้นำเอาวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับระบบการขนส่ง คมนาคม ทำให้โลจิสติกส์ถูกบัญญัติให้เป็นความหมายของระบบการขนส่งในอีกนัยหนึ่ง หมายถึงการจัดการวางแผน กำหนดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค โลจิสติกส์ คือวิธีการและกระบวนการที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและต้นทุนโดยรวมในการกระจายสินค้าให้ต่ำที่สุด เพื่อการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มจนถึงมือผู้บริโภค

ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักในกระบวนการไหลของสินค้า ตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญ และมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ 1. การขนส่ง 2. การสินค้าคงคลัง 3.กระบวนการสั่งซื้อ กิจกรรมสนับสนุนในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่ การจัดการด้านโกดัง การยกขน การบรรจุหีบห่อ การจัดซื้อจัดหา การจัดตารางผลิตภัณฑ์ การจัดการด้าน ข้อมูลหลักการง่าย ๆ ของโลจิสติกส์ในระบบของการขนส่ง คือไปให้ถึงที่หมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ในปัจจุบันด้านการแข่งขันของการค้า ราคาสินค้า จะอยู่ในภาคของอุตสาหกรรมและภาคเกษตร ซึ่งมีราคากำหนดอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวที่ควบคุมได้ยากในเรื่องของการกำหนดเวลา ในส่วนของต้นทุนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ในขั้นหนึ่งของการค้าขาย มีส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ ถ้าค่าขนส่งราคาถูกก็จะช่วยลดภาระต้นทุนของสินค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่เข้ามาทางท่าเรือจะทำอย่างไรให้ไปสู่โรงงานได้เร็ว เพราะหากขนส่งมาจากท่าเรือช้า ภารถต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจึงจะไปถึงได้เร็ว ซึ่งก็คือ ต้องมีเส้นทางที่เหมาะสมและประหยัด ระบบถนนถือว่าเป็นระบบที่ประหยัดที่สุด โดยรวมแล้ว 95 % ของการขนส่งทั่วโลก เป็นการขนส่งทางน้ำ เพราะขนส่งได้มาก รองลงมา ก็คือ ระบบรางและระบบถนน ก็มีการศึกษายกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. ถ้าขนส่งทางน้ำจะขนส่งสินค้าหรือของ ประมาณ 217 ตัน แต่ถ้าขนส่งในระบบรางโดยใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. จะขนได้ 85 ตัน แต่ ถ้าทางถนนเหลือ 25 ตัน

ทั้งนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่าในภาคขนส่ง ระบบน้ำกับระบบรางก็จะถูกที่สุดค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่ง ในเรื่องของระบบโลจิสติกส์ เรามีกรรมวิธีกระบวนการระหว่างต้นทางถึงปลายทางเรือที่ขนส่งสินค้าเข้ามาทางท่าเรือ ซึ่งก็มีกรรมวิธีในเรื่องของภาษีของการตรวจสินค้า และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นก็ในเรื่องของสารเคมี ถ้ากระบวนการในส่วนนี้ช้าภาระจะเกิดขึ้น ของหรือสินค้าที่จะไปส่งปลายทางก็จะช้าลงนั่นคือภาระเรื่องของต้นทุนจะสูงขึ้น ดังนั้นระบบทั้งหมดก็เป็นเรื่องของการให้บริการในภาคการขนส่ง ทำอย่างไรให้ส่งของได้ทันและถูกต้องมีการประสานกันหลายหน่วยงาน กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้รับสนองนโยบายจากรัฐบาล ก็ได้มีการวางแผนนำระบบโลจิสติกส์มาพัฒนาระบบขนส่ง ใช้ท่าเรือเป็นหลักประสานกันมีการจัดตั้งโครงข่ายถนน 4 เลน ทั่วประเทศและโครงข่ายถนนเชื่อมในระหว่างตำบลไปหมู่บ้าน และสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาคือ ด้านของระบบถนน ระบบราง และระบบน้ำ จากภาคเหนือของประเทศก็จะมีแม่น้ำโขงที่เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศจีน พม่า ลาว และไทย โดยมีข้อตกลง 4 ฝ่าย ในสี่ประเทศนี้สำหรับการเดินเรือในแม่น้ำโขงมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ท่าเรือเชียงแสนเป็นจุดหนึ่งในการขนส่งสินค้าที่สำคัญจากจีน หรือว่าส่งสินค้าที่จะไปประเทศจีนรวมถึงสินค้าอื่นจากต่างประเทศผ่านท่าเรือเชียงแสนไปจีนตอนใต้ โดยเฉพาะรถยนต์มือสองจากต่างประเทศรวมทั้งญี่ปุ่นจะขนส่งผ่านประเทศไทย จากท่าเรือคลองเตยหรือท่าเรือแหลมฉบังไปท่าเรือเชียงแสน แล้วก็บรรทุกเรือขนาดประมาณ 150 ตัน ไปประเทศจีนเป็นลักษณะการขนส่งสินค้าประเภทหนึ่งของประเทศที่อยู่ติดชายแดนหรือมีสินค้าที่ชายแดนอยู่แต่ไม่ใช่สินค้าที่ใหญ่หรือมีการขนส่งจำนวนมากเหมือนกับท่าเรือกรุงเทพหรือท่าเรือแหลมฉบัง อีกประการหนึ่งคือต้องมีการพัฒนาท่าเรือที่ท่าเรือคลองเตย หรือท่าเรือแหลมฉบังให้จัดอยู่ในระดับโลก ที่จะให้บริการแก่ท่าและที่สำคัญต้องมีการเชื่อมโยงไปสู่ประเทศทางภาคใต้ ในอดีตการใช้ระบบทางน้ำยังไม่มีการทำถนนที่ดีนัก ตอนหลังถนนก็ดีขึ้น ส่วนในเรื่องของทางน้ำต้องลดบทบาทลงไป ขณะนี้การพัฒนาที่จะเพิ่มขึ้นมาในการขนส่งสินค้า กลับมาใช้ถนนเชื่อมโยงไปสู่ฝั่งตะวันตก จากภาคเหนือลงมาภาคกลาง แต่ด้านฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ไม่มีท่าเรือน้ำลึก มีแต่ท่าเรือที่จังหวัดระนอง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ โดยสามารถรองรับเรือได้เท่ากับขนาดที่ท่าเรือคลองเตย ประมาณ 12,000 ตัน เนื่องจากว่ามีความต้องการในการขนส่งสินค้า ที่จะออกไปสู่ทางด้านประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ทางด้านฝั่งตะวันตก เนื่องจากมีผู้ประกอบการสินค้าหลายรายได้เสนอว่า ถ้าหากสามารถขนส่งสินค้าที่ท่าเรือระนองได้ จะประหยัดเวลาการขนส่งได้ 7 วัน จากเดิมจะขนส่งจากจังหวัดระนอง หรือจังหวัดชุมพรไปที่ประเทศ สิงคโปร์ ต้องไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง แล้วเดินทางไปสิงคโปร์ 14 วัน แต่ถ้าสามารถออกจากท่าเรือระนองได้ใช้เวลาเพียงแค่ 7 วัน เวลาที่สินค้าจะถึงปลายทางได้รวดเร็วขึ้น ในขณะนี้ท่าเรือระนองกำลังทำการปรับปรุงในปี 2549 จะแล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมโยงเส้นทางได้จากภาคเหนือ จากประเทศจีนลงมาถึงภาคกลางและภาคใต้ถึงฝั่งอันดามัน กรมการขนส่งทางน้ำกำลังวางแผนทำการศึกษาสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพรอยู่ เพราะภูมิศาสตร์อยู่ทางชายฝั่งอ่าวไทย เมื่อสร้างท่าเรือ 2 ฝั่งได้แล้ว เราก็จะต้องมีถนนเข้าไปเชี่อมโยงระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งกับอีกจุดหนึ่ง ก็คือ ท่าเรือที่สตูล ขณะนี้นโยบายรัฐบาลได้สร้างท่าเรือน้ำลึกทางชายฝั่งอันดามันที่เป็นท่าเรือสำคัญเทียบเท่ากับเรือที่จะสามารถเข้าไปได้ก็คือ เรือขนาดที่เข้าท่าเรือแหลมฉบังได้ 50,000 ตัน เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีถนนระบบราง เข้าไปในปี 2549 ด้านกระทรวงคมนาคมจะตั้งงบประมาณในการก่อสร้างช่วงแรก 5,500 ล้านบาท ในเวลาการก่อสร้าง 3 ปี จะมีทางรถไฟเชื่อมทางถนน ทางราง ทางน้ำ ในการขนส่งสินค้าที่จะเข้าไปสู่ทางยุโรปและประเทศอินเดีย โดยไม่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศมาเลเซีย ก็จะมีท่าเรือทางฝั่งตะวันตกที่สำคัญ 3 ท่าเรือ ขณะนี้ช่องแคบมะละกา มีปัญหาของเรื่องความคับแคบและความไม่ปลอดภัย ภาคขนส่งที่สำคัญคือ ทางน้ำภายในประเทศ ขณะนี้กำลังศึกษาข้อมูลที่จะพัฒนาท่าเรือใหม่ให้มีมาตรฐาน แล้วก็จะมีการสร้างท่าเรือซึ่งมีคลังสินค้ารองรับ โดยใช้สถานที่ของการรถไฟ ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นภาพรวมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงในระบบน้ำ ระบบราง ระบบถนน รวมทั้งท่าเรือทั้งภายในประเทศระหว่างประเทศและชายฝั่ง และการขนส่งก็จะมีระบบรองรับที่ตามมาก็คือ ระบบราง เพราะเป็นการขนส่งที่ประหยัด รัฐบาลจะเข้ามาดูแลโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อการเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ของประเทศ จะเป็นการเปิดเรื่องของเส้นทางจะเห็นว่า ในปัจจุบันและในอดีตที่ผ่านมา ถ้าไม่มีโครงข่ายระบบการขนส่งก็จะไม่สะดวกเป็นสิ่งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ตรงจุดเป็นกรอบเวลาของแผน 4 ปี ส่วนโครงการที่ตามมาคือถนนการปรับปรุงขยายถนน เพื่อให้รองรับการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะตู้คอนเทนเนอร์ จึงต้องมีการขยายถนนที่กว้างพอ มีความลาดชันที่รองรับได้ และในเรื่องระบบราง ทางรถไฟ กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำการเชื่อมโยงอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นผู้นำในด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาค เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง ในส่วนของพลังงาน ถ้าคนไทยหันมาใช้บริการระบบรางกับทางน้ำมาขึ้น ลดการใช้รถยนต์ลงการใช้พลังงานก็ลดลงตามไปด้วย เพราะในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ระบบรางกับระบบน้ำมีความสำคัญมาก ส่วนในประเทศไทย โดยภาพรวมนั้นใช้ถนน 88 % ระบบรางประมาณ 2 % ระบบน้ำ 10 % ถ้าอีก 4 ปี ข้างหน้า เราอาจจะเห็นภาพที่เปลี่ยนไปของระบบการขนส่ง อาจใช้ระบบการขนส่งทางน้ำ ระบบรางมากขึ้นสามารถลดต้นทุนในการผลิต ผู้บริโภคจะได้ใช้สินค้าในราคมที่ถูกลง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลไทย การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรที่ร่วมกันประชุมหารือประสานงานระดมสมองแก้ปัญหา เพื่อเปิดมิติใหม่ให้กับระบบการขนส่งสินค้า อาทิ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นรูปธรรม อย่างเช่น บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขนส่ง (Port - to - Door ) และ Door - to - Port ข้อตกลงเพิ่มประสิทธิภาพของขนส่งสินค้า และข้อตกลง

การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับส่วนยุทธศาสตร์ทางอากาศนั้น มี 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1.Global Distination Network โดยขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่งโลก เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสินค้า ในกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส และเอเซียใต้

2.พัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็นประตูระดับโลกโดยให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นประตูสู่ระดับโลก โดยให้สนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตเป็นประตูสู่ภูมิภาค

3.เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ และเครื่องประดับ การแข่งขันในตลาดโลกนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆความรวมเร็ว และต้นทุนทีทถูกลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะประเทศไทยมีต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงถึง 25-30 % จึงต้องเร่งแก้ปัญหา นอกเหนือจากการร่วมมือกับประทรวงการคลัง เพื่อวางแผนในการกำหนดแผนพัฒนา โลจิสติกส์ ระดับประเทศแล้ว ส่วนของกระทรวงคมนาคมจะดูว่ามีศูนย์กระจายสินค้าคลังสินค้าที่รวบรวมสินค้าแล้วดูว่าจะส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไร แต่เดิมเคยคิดว่าจะให้มีคลังสินค้า

4 มุมเมือง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะนี้กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมแล้วจะนำมาผสมผสานกับการขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เรือ มาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สินค้าขนส่งได้เร็วที่สุดในราคาถูกที่สุด หากเป็นการขนส่งทางอากาศต้องเป็นสินค้าที่มีราคาแพง บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ต้องการความรวดเร็วหรือเป็นสินค้าเทกอง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรต่างๆ ก็ต้องขนส่งทางเรือ การบริหารจัดการเพื่อความรวดเร็วนั้นสำคัญ แต่ว่าการขนส่งให้ต้นทุนถูกก็สำคัญเช่นกันแล้วแต่สินค้าแบบไหน แต่ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพราะโลจิสติกส์ คือการควบคุมทุกอย่าง ซึ่งเรามีข้อมูลแล้วว่าสินค้าแต่ประเภทจะขนส่งทางไหนบ้างจึงจะคุ้มค่าที่สุด กระทรวงคมนาคมได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไว้ทั้งทางภาคพื้น และทางอากาศโดยในทางภาคพื้นนั้น

มี 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1. พัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูไปสู่ภูมิภาคโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.พ.ท . ) จะต้องขยายขีดความสามารถของสถานะบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ( ไอซีดี ) ให้มากขึ้น ขณะที่องค์กรขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ต้องตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้า เพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน ส่วน กทท. ก็ต้องปรับปรุงท่าเทียบเรือให้รองรับเรือ Roll on-Roll off ระหว่างประเทศได้ควบคู่ไปกับพัฒนาท่าเทียบเรือภูมิภาคให้เข็มแข็งมากขึ้น

2. พัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า โดยตั้งฮับประจำภาค เพื่อประสานระบบขนส่งให้สมบรูณ์ โดยมีโครงการที่จะพัฒนาย่านคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคไปยังปลายทาง

3. พัฒนาวิธีการขนส่งไปสู่ระบบรางทางน้ำ และทางท่อ เพื่อให้การขนส่งมีปริมาณมากขึ้น แต่สามารถลดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดพลังงาน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เริ่มศึกษา เพื่อพัฒนาระบบรางน้ำ และท่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันแล้ว ส่วน ร.ฟ.ท. นั้น ก็ต้องเร่งก่อสร้างทางคู่ในช่วงชุมทางเส้นทางขนส่งสินค้ามายังท่าเรือแหลมฉบังให้มากขึ้นด้าน บทด. ต้องเร่งส่งเสริมใช้เรือ Roll on-Roll off ให้มากขึ้นเช่นกัน

4. พัฒนาระบบเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ สำหรับระบบการขนส่งทางภาคพื้น เพื่อให้บริการแบบ Door - to - Door ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติขึ้นมาแล้ว เพื่อให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีขั้นตอนมากๆ ให้น้อยลงนำระบบไอทีเข้ามาใช้มากขึ้น การสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น สำหรับการขนส่งคนโดยเฉพาะระบบรางมีเพียง 42 ก.ม. เท่านั้น โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างการขนส่งด้วยระบบรางให้ครบ 200 ก.ม. ภายใน 6 ปี โดยมีวงเงินลงทุน 400,000 ล้านบาท

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะก้าวหน้าไกลเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล หรือกระทรวงคมนาคมเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวแปลของต้นทุนในการขนส่ง ระบบการจัดเก็บ และคลังสินค้าที่กลายเป็นอุปสรรค แต่ถึงอย่างไรเพื่อประเทศไทยแล้ว รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สนข. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงระดมสมองคิดหาวิธีวางแผนพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ระบบการขนส่งและคมนาคมมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกที่ มีต้นทุนต่ำ (คัดลอกบทความจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร )